คาดการณ์ธุรกิจนำเข้าส่งออก 2565 ปีเสือคำราม

ผ่านไปแล้วสองปี กับสถานการณ์โควิดที่บั่นทอนให้ภาคธุรกิจของทุกประเทศทั่วโลกย่ำแย่ ผลกระทบเหล่านี้ทำให้การหารายได้ของภาคธุรกิจซบเซา ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง เช่น บริการ ท่องเที่ยว ร้านอาหาร สายการบิน ฯลฯ เนื่องจากขาดรายได้ ซึ่งเป็นผลให้พนักงานในบางธุรกิจต้องถูกลดค่าจ้าง หรือถูกเลิกจ้างไป ซึ่งการขาดรายได้นี้เอง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย รวมทั้งสาเหตุของการขาดความเชื่อมั่นในการหารายได้ในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการสาธารณสุข ที่เกี่ยวกับการป้องกันไม่ว่าจะเป็นแผนการรับมือการระบาด รวมถึงการกระจายฉีดวัคซีนในหลายประเทศ ทำได้ดีขึ้น ทำให้มีหลายประเทศเริ่มคลายมาตรการ ให้ประชาชนออกมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ รวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้อีกครั้งหนึ่งด้วย หากตรวจสอบไปถึงสภาวะความรู้สึก ความเชื่อมั่นของประชาชนทั่วไปในหลายประเทศ พบว่ามองโลกในแง่ดีมากขึ้น กล่าวคือ หากมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ออกมา ก็เชื่อว่าการสาธารณสุขของแต่ละประเทศจะมีมาตรการรองรับ รวมถึงการพัฒนาวัคซีนให้ได้ประสิทธิภาพเท่าทัน รวมถึงการปรับตัวของประชาชนทั่วไปทำได้ดีขึ้นกว่าก่อน และมีความระมัดระวังตัวมากขึ้นนั่นเอง

Read More

เล่าเรื่องวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ในมุมมองการค้าระหว่างประเทศ

วิกฤตต้มยำกุ้ง   วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งทำให้เงินบาทของไทย ที่เดิมใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Fixed Exchange Rate (Pegged) มาเป็นแบบลอยตัว (Float Exchange Rate) และทำให้ค่าเงินของไทยขยับจาก 25 บาท ต่อดอลล่าร์สหรัฐมาเป็น 55 บาท ในช่วงไม่กี่วัน สถานการณ์ตอนนั้นทำให้ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในทันที ค่าเงินบาทลอยตัวทำให้เงินคงคลังในแบงค์ชาติลดลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พังอย่างราบคาบ และส่งผลกระทบเศรษฐกิจฟองสบู่แตกลามไปหลายประเทศทั่วโลก เช่น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ทำให้วิกฤตเศรษฐกิจนี้ถูกขนานนามว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หรือ Tomyumkung Crisis ที่เกิดขึ้นมาจากในไทยเป็นที่แรกนั่นเอง

Read More